ชื่อเรื่อง ผลการใช้โปรแกรม GSP ที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์
เรื่อง พาราโบลา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
ผู้วิจัย นายอำนาจ เชื้อบ่อคา
เสนอต่อ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
งานวิจัยระดับ ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต
ปีที่วิจัย พฤษภาคม 2547
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ของการเรียนคณิตศาสตร์ก่อนและหลังการใช้โปรแกรม GSP
วิธีดำเนินการวิจัย
1. การกำหนดประชากรและเลือกกลุ่มตัวอย่าง
ประชากรคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา 2 ซึ่งกำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 2 จำนวน 509 คน
กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา 2 ซึ่งกำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 2 จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวนนักเรียน 48 คน โดยการสุ่มอย่างง่าย
2. เนื้อหาที่ใช้ในการวิจัย
เป็นเนื้อหาวิชาคณิตศาสตร์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เรื่อง พาราโบลา ตามหลักสูตรมัธยมศึกษามัธยมศึกษาตอนต้น พุทธศักราช 2521 ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2533 ของกระทรวงศึกษาธิการ
3. ระยะเวลาที่ใช้ในการวิจัย
ดำเนินการศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2546 ใช้เวลาทดลอง 12 คาบ คาบละ 50 นาที โดยใช้ใช้โปรแกรม GSP ประกอบการสอน พร้อมแบบฝึกปฏิบัติ 10 คาบ ทดสอบก่อนเรียน(Pretest) จำนวน 1 คาบ และ หลังเรียน(Posttest)จำนวน 1 คาบ
4. แบบแผนที่ใช้ในการวิจัย
เป็นการวิจัยแบบ One-Group Prettest Design
5. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
5.1 แบบฝึกปฏิบัติ โดยใช้โปรแกรม GSP
5.2 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์วิชาคณิตศาสตร์ เรื่องพาราโบลา
6. วิธีการดำเนินการวิจัย
ในการทดลองผู้วิจัยได้ดำเนินการทดลองดังนี้
1) ทดสอบก่อนเรียนกับนักเรียน(Pretest) โดยใช้แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องพาราโบลาที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น
2) ผู้วิจัยดำเนินการสอนทั้งหมด โดยใช้เวลาในการสอน 10 คาบๆ ละ 50 นาที
3) ทำการทดลองหลังเรียน(Posttest) กับนักเรียนโดยใช้ข้อสอบชุดเดียวกับที่ใช้ทดสอบก่อนเรียน
7. การวิเคราะห์ข้อมูล
เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนก่อนและหลังได้รับการสอนโดยใช้ โปรแกรม GSP โดยใช้สถิติแบบ t – test แบบ Dependent
เทคโนโลยีที่ใช้คือ
โปรแกรม GSP ในการสอนเรื่อง พาราโบลา
